โคลงสี่สุภาพ
Ø
เป็นโคลงชนิดหนึ่งที่กวีนิยมแต่งมากที่สุด
ด้วยเสน่ห์ของการบังคับวรรณยุกต์เอกโทอันเป็นมรดกของภาษาไทยที่ลงตัวที่สุด
Ø
คำว่า สุภาพ หรือ เสาวภาพ หมายถึงคำที่มิได้มีรูปวรรณยุกต์
ประวัติความเป็นมาโคลงสี่สุภาพ
Ø
โคลงสี่สุภาพ ปรากฏในวรรณกรรมไทย ตั้งแต่สมัยต้นอยุธยา ปรากฏในมหาชาติคำหลวงเป็นเรื่องแรกและมีวรรณกรรมที่แต่งด้วยโคลงสี่สุภาพ
3 เรื่อง ได้แก่ โคลงนิราศหริภุญชัย โคลงมังทราตีเชียงใหม่ และลิลิตพระลอ
สมัยอยุธยาตอนกลาง
วรรณกรรมที่ใช้โคลงสี่สุภาพ ได้แก่ โครงเรื่องพาลีสอนน้อง โคลงทศรถสอนพระราม
และโคลงราชสวัสดิ์ พระราชนิพนธ์สมเด็จพระนายรายณ์มหาราช
โคลงเฉลิมพระเกียรติพระนารายณ์มหาราช โคลงนิราศนครสวรรค์ กาพย์ห่อโคลงและโคลงอักษรสามของพระศรีมโหสถ
สมัยอยุธยาตอนปลาย
ได้แก่ โคลงนิราศพระบาท โคลงนิราศเจ้าฟ้าอภัย
และกาพย์ห่อโคลงพระราชนิพนธ์เจ้าฟ้าธรรมาธิเบศร
สมัยธนบุรี
ได้แก่ โคลงยอพระเกียรติพระเจ้ากรุงธนบุรี และลิลิตเพชรมงกุฎ
สมัยรัตนโกสินทร์
วรรณกรรมที่ใช้โคลงสี่สุภาพที่เด่น ๆ ได้แก่ ลิลิตะเลงพ่าย โคลงนิราศนรินทร์
โคลงนิราศสุพรรณ โคลงโลกนิติ สามกรุง
โคลงสี่สุภาพเป็นคำประพันธ์ที่กวีชอบแต่งและผ่านการพัฒนามายาวนานจนมีฉันทลักษณ์ที่ลงตัวและเป็นแบบฉบับดังที่ยึดถือกันในปัจจุบัน
ลักษณะบังคับของโคลงสี่สุภาพ |
๑.
คณะ โคลงสี่สุภาพบทหนึ่งมี ๔ บาท
บาทที่ ๑ , ๒ , ๓
มีบาทละ ๒ วรรค และมีจำนวนคำเท่ากัน คือ วรรคหน้า มี ๕ คำ ส่วนวรรคหลังมี ๒ คำ
บาทที่ ๔ มี ๒ วรรค เช่นกัน แต่เพิ่มจำนวนคำในวรรคหลังอีก ๒ คำ ฉะนั้นวรรคหน้าของโคลงบาทที่ ๔ จึงมี ๕ คำ ส่วนวรรคหลังมี ๔ คำ
บาทที่ ๔ มี ๒ วรรค เช่นกัน แต่เพิ่มจำนวนคำในวรรคหลังอีก ๒ คำ ฉะนั้นวรรคหน้าของโคลงบาทที่ ๔ จึงมี ๕ คำ ส่วนวรรคหลังมี ๔ คำ
๒. พยางค์และคำสร้อย จำนวนพยางค์และคำในแต่ละบท รวมแล้วมี ๓๐ คำ
คำสร้อย คือ คำที่แต่งท้ายบาทของโคลงตามข้อบังคับ เพื่อทำให้ได้ใจความครบถ้วน ถ้าโคลงบาทใดได้ความครบถ้วนแล้ว ก็ไม่ต้องเติมคำสร้อย
ตำแหน่งที่กำหนดให้เติมคำสร้อย คือ ท้ายบาทที่ ๑ และท้ายบาทที่ ๓
คำสร้อยต้องมีแห่งละ ๒ คำเสมอ คำแรกเป็นคำสุภาพที่ต้องการเสริมความให้สมบูรณ์ ส่วนคำหลังมักลงท้ายด้วยคำต่อไปนี้
พ่อ แม่ พี่ รา แล เลย เอย นา นอ เนอ ฤๅ ฮา แฮ เฮย และมีอีกคำหนึ่งที่พบในโคลงโบราณ คือ คำว่า บารนี ซึ่งใช้คำสร้อยได้ครบพยางค์โดยไม่ต้องเติมคำอื่น
คำสร้อย คือ คำที่แต่งท้ายบาทของโคลงตามข้อบังคับ เพื่อทำให้ได้ใจความครบถ้วน ถ้าโคลงบาทใดได้ความครบถ้วนแล้ว ก็ไม่ต้องเติมคำสร้อย
ตำแหน่งที่กำหนดให้เติมคำสร้อย คือ ท้ายบาทที่ ๑ และท้ายบาทที่ ๓
คำสร้อยต้องมีแห่งละ ๒ คำเสมอ คำแรกเป็นคำสุภาพที่ต้องการเสริมความให้สมบูรณ์ ส่วนคำหลังมักลงท้ายด้วยคำต่อไปนี้
พ่อ แม่ พี่ รา แล เลย เอย นา นอ เนอ ฤๅ ฮา แฮ เฮย และมีอีกคำหนึ่งที่พบในโคลงโบราณ คือ คำว่า บารนี ซึ่งใช้คำสร้อยได้ครบพยางค์โดยไม่ต้องเติมคำอื่น
๓. สัมผัส คำเอกคำโท คำเป็นคำตาย
๓.๑ สัมผัส ดูจากแผนผังต่อไปนี้
..... อ่านต่อได้ที่: https://www.gotoknow.org/posts/413872

๓.๒ คำเอกคำโท
กำหนดในตำแหน่งที่พิมพ์ด้วยเครื่องหมาย เอก โท ในแผนผัง รวมมีคำเอก ๗ แห่ง และคำโท
๔ แห่ง นอกนั้นเป็นคำสุภาพธรรมดา
ไม่จำเป็นต้องเป็นเอกโทจะเป็นเสียงวรรณยุกต์อะไรก็ได้
ในการแต่งโคลงสี่สุภาพ บางครั้งเมื่อไม่สามารถหาคำที่มีรูปวรรณยุกต์เอก หรือรูปวรรณยุกต์โทมาใช้ในที่บังคับวรรณยุกต์ตามแผนผังได้ ผู้แต่งจำเป็นต้องใช้คำเอกโทษ หรือ คำโทโทษ คือ นำคำที่ต้องการใช้ไปเปลี่ยนให้เป็นรูปวรรณยุกต์เอก หรือวรรณยุกต์โท แต่ถ้าไม่จำเป็น
อย่างยิ่งแล้วก็ไม่ควรใช้ เพราะทำให้รูปคำเสีย และความหมายอาจเปลี่ยนไป เช่น ใช้คำว่า ข้า แทนคำว่า ฆ่า เป็นต้น อีกกรณีหนึ่งคือ คำเอก คำโท ที่อยู่ติดกัน บางครั้งอาจสลับที่กันได้
๓.๓ คำเป็นคำตาย คำตายใช้แทนวรรณยุกต์เอกได้ทุกแห่งที่บังคับคำเอก ไม่ว่าคำตายนั้น ๆ จะมีเสียงวรรณยุกต์ใด อาจเป็นคำตายเสียงเอก เช่น บาด จิต คำตายเสียงโท เช่น วาด ภาพ หรือคำตายเสียงตรี เช่น พบ รัก เป็นต้น
๔. สัมผัสบท ถ้าเขียนโคลงสี่สุภาพ ความยาวเกินกว่า ๑ บท จะต้องมีสัมผัสบทโดยคำสุดท้ายของบาทที่ ๔ บทต้น สัมผัสกับคำที่ ๑ , ๒ หรือ ๓ ของบาทที่ ๑ ในบทต่อไป
..... อ่านต่อได้ที่: https://www.gotoknow.org/posts/413872
ในการแต่งโคลงสี่สุภาพ บางครั้งเมื่อไม่สามารถหาคำที่มีรูปวรรณยุกต์เอก หรือรูปวรรณยุกต์โทมาใช้ในที่บังคับวรรณยุกต์ตามแผนผังได้ ผู้แต่งจำเป็นต้องใช้คำเอกโทษ หรือ คำโทโทษ คือ นำคำที่ต้องการใช้ไปเปลี่ยนให้เป็นรูปวรรณยุกต์เอก หรือวรรณยุกต์โท แต่ถ้าไม่จำเป็น
อย่างยิ่งแล้วก็ไม่ควรใช้ เพราะทำให้รูปคำเสีย และความหมายอาจเปลี่ยนไป เช่น ใช้คำว่า ข้า แทนคำว่า ฆ่า เป็นต้น อีกกรณีหนึ่งคือ คำเอก คำโท ที่อยู่ติดกัน บางครั้งอาจสลับที่กันได้
๓.๓ คำเป็นคำตาย คำตายใช้แทนวรรณยุกต์เอกได้ทุกแห่งที่บังคับคำเอก ไม่ว่าคำตายนั้น ๆ จะมีเสียงวรรณยุกต์ใด อาจเป็นคำตายเสียงเอก เช่น บาด จิต คำตายเสียงโท เช่น วาด ภาพ หรือคำตายเสียงตรี เช่น พบ รัก เป็นต้น
๔. สัมผัสบท ถ้าเขียนโคลงสี่สุภาพ ความยาวเกินกว่า ๑ บท จะต้องมีสัมผัสบทโดยคำสุดท้ายของบาทที่ ๔ บทต้น สัมผัสกับคำที่ ๑ , ๒ หรือ ๓ ของบาทที่ ๑ ในบทต่อไป
..... อ่านต่อได้ที่: https://www.gotoknow.org/posts/413872
ตัวอย่าง โคลงสี่สุภาพ
๏ เสียงลือเสียงเล่าอ้าง
|
อันใด พี่เอย
|
|
เสียงย่อมยอยศใคร
|
ทั่วหล้า
|
|
สองเขือพี่หลับใหล
|
ลืมตื่น ฤๅพี่
|
|
สองพี่คิดเองอ้า
|
อย่าได้ถามเผือ ๚ะ
ลิลิตพระลอ
|
๑. นางสาวธัญญารักษ์ ไชยวงค์คำ
๒. นางสาวน้ำเพชร หอมชะเอม
๓. นางสาวเพชรไพลิน บุญเกิด
๔. นางสาวสุมิตา ปันติ
๕. นางสาวสุนิสา
ไทยอ่อน